จุดเด่น : นักท่องเที่ยวทราบหรือไม่ครับว่า ในปัจจุบัน หัวหินได้มีแหล่งท่องเที่ยวเกิดขึ้นใหม่แล้ว......ถูกแล้วครับ แหล่งท่องเที่ยวที่ผมจะบอกก็คือตลาดจักจั่น ซึ่งตลาดจักจั่นแห่งนี้เป็น แหล่งรวบรวมชิ้นงานศิลปะร่วมสมัยแขนงต่างๆ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์ งานแฮนด์เมด ของตกแต่งบ้าน เสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้มือสอง สินค้า เอสเอ็มอีที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำมาแสดงและจำหน่ายในสไตล์เปิดเสื่ออีกทั้งตลาดจักจั่นยังมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำกิจกรรม work shops จากชมรม ต่างๆ เช่น กลุ่มเล่านิทาน กลุ่มละคร กลุ่มเต้นรำ กลุ่มถ่ายภาพ กลุ่มนักแสดงเปิดหมวก ฯลฯ เป็นต้น จึงทำให้ตลาดจักจั่น เริ่มเป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น หลายคนอาจจะสงสัยนะครับว่า ตลาดจักจั่นมีที่มาอย่างไร ผมจะมาเล่าให้ฟัะนะครับ
รายละเอียด : ตลาดจักจั่น ตลาดแห่งนี้เกิดขึ้นก็เพราะว่า ในปัจจุบัน หัวหิน เป็นเมืองตากอากาศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยสังเกตได้จากอัตราของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีๆ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย การที่มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นนั้น มันก็ดี ครับ แต่ว่า ก็มีผลเสียเหมือนกัน เช่น ความต้อง การในเรื่องของที่พัก กิจกรรม สันทนาการ และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ยังมีไม่เพียงพอ หรือ รองรับ ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ ในแต่ละปี จึงทำให้วงจรการท่องเที่ยวของหัวหินในแต่ละครั้งเกิดความซ้ำ มีรูปแบบที่จำกัด อันจะนำไปสู่ความเบื่อหน่ายที่สามารถเกิดขึ้นต่อนักท่องเที่ยวได้ ตลาดจักจั่น จึงเกิดขึ้นมา โคยใช้ชื่อโครงการที่ว่า โครงการ The Cicada Market หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "ตลาดจักจั่น" ภายใต้การจับมือกันของ บริษัท ศศิอำไพ ลีเชอร์ บิซิเนส จำกัด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานประจวบคิรีขันธ์ โตยมีแนวความคิดที่ว่า “Open Mind & Open Mat: เปิด เสื่อ-เปิดใจ-เปิดไอเดีย” ซึ่งโครงการนี้ฯ ถูกสร้างสรรค์ขึ้น โดยอาศัยการบูรณาการระหว่างศิลปะร่วมกับไลฟ์สไตล์ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างผู้สร้างสรรค์ นักท่องเที่ยว นักเรียน นักศึกษา ชุมชน ให้ตอบสนองและสามารถเข้าถึงกันได้อย่างมีเสรีภาพ ท่ามกลางบรรยากาศ Tropical Garden อันร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้งาม อายุร่วมร้อยปีบนพื้นที่เกือบ 10 ไร่ของหัวหิน ซึ่งสวนแห่งนี้ เป็นบ้านพักตากอากาศอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี ของ "หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์" บิดาของ "ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวนิช" และ "คุณนิด-สุพัฒนา อาทรไผท" มาเป็นสวนอันร่มรื่นไปด้วยแมกไม้เขียวขจี เพื่อให้ชาว หัวหิน ได้ผ่อนคลายอย่างสบายอารมณ์ ตลาดจักจั่นนี้จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ 1. เพื่อสร้างพื้นที่ถาวรสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านศิลปะ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 2. เพื่อสร้างพื้นที่นัดพบระหว่างผู้ซื้อและผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ ประเภทต่างๆ 3. เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ศึกษาทางด้านศิลปะมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน แก่สาธารณชนมากขึ้น รวมถึงการสร้างรายได้ให้กับประชาคม ท้องถิ่น นักท่องเที่ยวอาจจะสงสัยนะครับว่าทำไมต้องชื่อ ตลาดจักจั่น คำว่า "จักจั่น" ที่ส่งเสียงร้องทุกครั้งเมื่อแสงตะวันพลบค่ำต่ำลงในช่วงฤดูร้อนท่ามกลางบรรยากาศของสวนที่รายล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่ ที่ขนานนามและเรียกตัวเองว่า “สวนศรี” ที่สว่างไสวจากดวงไฟที่ตกแต่งประดับประดา รอรับกับกระแสเสียงของจักจั่นที่ดังก้องอยู่ทั่วจากศิลปินตัวน้อยอย่างจักจั่นที่ดุจ คล้ายจะนัดหมายกันมาประโคมเพื่อประโลมแก่กันและกัน ซึ่งจักจั่น ตัวน้อยเหล่านี้ ยากนักที่จะหาเสียงใดมากลบลบความกึกก้องนั้นลงได้ ขนาดเสียงที่ดังก้อง กังวานนั้นต่างตรงข้ามกันกับรูปลักษณ์ขนาดที่น้อยนิดของตัวจักจั่นได้อย่างสิ้นเชิง การส่งเสียงร้องของจักจั่นไม่จำเพาะแค่นัยแห่งการหาคู่เท่านั้น หากแต่ท่วง ทำนองของเสียงร้องยังสื่อไปในความหมายอื่นอีก เช่น ส่งเสียงเพื่อการคัดค้าน ส่งเสียงเพื่อความพึงพอใจ ส่งเสียงเพื่อการข่มขู่หรือป้องกันตัว เป็นต้น ซึ่งถ้าฟังแล้ว การที่จักจั่นร้องนั้น เสียงที่ร้องออกไป จะไม่ค่อยมีความแตกต่าง ๆ แต่สำหรับตัวพวกมันเอง แล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยที่จะแยกแยะว่า เสียงไหนที่จะร้องด้วยเจตนาใด ก็เสมือนกับความคิด และความสามารถของปัจเจกชนที่มีอัตลักษณ์ และอัตลักษณ์ในแต่ละปัจเจกชนนี้ก็สามารถสร้างพลังในทางสร้างสรรค์ร่วมกันได้ โดยยึด บริบททางศิลปะและวัฒนธรรมเป็นเครื่องช่วยยกระดับจิตใจของผู้คน เพื่อสร้างความเสถียรภาพกลับคืนสู่สังคมด้วย ครับ........จึงทำให้ปัจจุบัน ตลาดจักจั่นได้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ อำเภอหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ แล้ว และผมเชื่อว่า ตลาดจักจั่นแห่งนี้ จะมีนักท่องเที่ยว ต่างพากันหลั่งใหล ไปเป็นจำนวนไม่ น้อย เมื่อเทียบ กับแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของหัวหินแลยทีเดียวเงื่อนไข : การเดินทาง รถยนต์ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรเกษม เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี แล้วเข้าสู่ตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี แล้วเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทางประมาณ 320 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 4 ชั่วโมง รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มีบริการรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-ปราณบุรี และกรุงเทพฯ-บางสะพาน เป็นประจำทุกวัน ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-435-1199-200 (รถปรับอากาศ) และ โทร. 02-434-5557-8 (รถธรรมดา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น