พระปรีชาสามารถพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์ ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรมพระองค์ท่านทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูป และยังทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้แล้วยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์ฯ คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรีพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถดนตรีเป็นอย่างสูง เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย เพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือ บุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า ต่อมามักจะเรียกว่า เพลงทรงพระสุบิน เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายจนรู้จักกันกว้างขวางถึงปัจจุบันเช่นกันผู้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทด้วยเห็นว่าประเทศไทยมีศิลปินในสาขาต่างๆ เป็นจำนวนมากที่ได้สร้างสรรค์ผลงานไว้ให้แก่ประเทศชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรมสูงส่ง ดังนั้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงจัดให้มีโครงการศิลปินแห่งชาติขึ้น เมื่อพ.ศ. 2527 เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ และสรรหาบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพื่อยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจะนำศิลปินแห่งชาติเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของแต่ละปี ซึ่งกำหนดให้เป็นวันศิลปินแห่งชาติ
ทางราชการสนับสนุน ส่งเสริมให้จัดงานวันศิลปินแห่งชาติกันทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์วัฒนธรรมอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ศิลปินได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน เพื่อส่งเสริมให้มีการสืบทอดความรู้ความสามารถของศิลปิน และเพื่ออนุรักษ์ศิลปะแขนงต่างๆเอาไว้ไม่ให้สูญหาย โดยเฉพาะศิลปะพื้นบ้าน งานวันศิลปินแห่งชาติจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2529
นายเมธา บุนนาค
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
ประวัติชีวิต
นายเมธา บุนนาค ปัจจุบันอายุ ๖๑ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๘
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง
๓ คน ของนายแพทย์มณเฑียร บุนนาค และนางนันทนา พลางกูร สมรสกับ
นางหลุยซ่า กา ฟุง บุนนาค (นามสกุลเดิม ชิค) มีบุตร ๑ คน คือ นายศมน บุนนาค
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
ประวัติชีวิต
นายเมธา บุนนาค ปัจจุบันอายุ ๖๑ ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๘
ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้อง
๓ คน ของนายแพทย์มณเฑียร บุนนาค และนางนันทนา พลางกูร สมรสกับ
นางหลุยซ่า กา ฟุง บุนนาค (นามสกุลเดิม ชิค) มีบุตร ๑ คน คือ นายศมน บุนนาค
รางวัล และเกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 7 ในการประกวดแบบ Manila Architectural International Competition
เรื่อง Self-help Housing for the Low-Income Group ที่ Manila, ประเทศฟิลิปปินส์
จากจำนวนผู้ส่งประกวดแบบ ๔๘๐ ทีมทั่วโลก
Team Professor and Head Lye Kum-Chew (leader)
Hiroshi Okamoto, B. Arch. (Wasada University)
พ.ศ. ๒๕๒๙ ชนะเลิศการประกวดแบบ Urban Conservation at China Town ประเทศ สิงคโปร์
จาก Singapore Tourism Authority ประเทศสิงคโปร์
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับรางวัล Best Hotel Design Award จาก Indonesian Institute of Architects
จากโครงการ Novotel Bukittinggi, West Sumatra, ประเทศอินโดนีเซีย
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับรางวัล Conservation Award จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
จากโครงการ Four Seasons Resort Chiang Mai, Chiang Mai, ประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อเป็นเกียรติในฐานะศิษย์เก่าดีเด่นที่ได้สร้างคุณูปการ
และผลงานดีเด่นต่อสาธารณชน อันนำชื่อเสียงและความภาคภูมิใจมาสู่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
และศิษย์เก่าทั้งมวล จากสมาคมศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับคัดเลือกให้เป็น ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๕ ประเภทผู้ประกอบวิชาชีพ
จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๔๖ได้รับเหรียญเกียรติคุณศิลป์ พีระศรีและได้รับคัดเลือกให้เป็นนักศึกษาเก่ายอดเยี่ยมในรอบ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเภทผู้ประกอบวิชาชีพ จากสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานกิตติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในฐานะที่เป็นสถาปนิกดีเด่นด้านวิชาชีพ
โดยการคัดเลือกของ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวาระครบรอบ ๗๐ ปี
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรางวัล The Golden Award for Excellence in Architecture
จาก a+d & Spectrum Foundation Architecture Awards 2006 ที่ Kathmandu ประเทศเนปาล
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับรางวัล Design for Asia Award 2009 -DFA Merit Recognition
ประเภท Hospitality and Leisure
จากโครงการ The Barai at Hyatt Regency Hua Hin, Hua Hin, ประเทศไทย
จาก Hong Kong DesignCentre (HKDC),ฮ่องกง
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับรางวัลมงคลเกียรติยศ พระพรหมพิจิตร ด้านวิชาชีพ ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๓
เป็นผู้สร้างชื่อเสียง และเกียรติภูมิให้แก่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร